วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รวมเอกสารประกอบการเรียน Sun Solaris

รวมเอกสารประกอบการเรียน Sun Solaris

รวมเอกสารเก่าๆสมัยเรียน ปตรี วิศวคอม RMUTL ครับ ไม่รู้ว่ายังมีใครใช้อยู่หรือเปล่า

ดูและดาวน์โหลดที่ Scribd ได้เลยครับ (ภาษาไทย)

หลักสูตร UNIX Solaris System & Network Administrator  (PowerPoint)
Scribd (Preview) | SktDrive (Download)

เทคนิคการใช้ VMWare สำหรับอบรม Solaris (Word)
Scribd (Preview) | SktDrive (Download)

UNIX Solaris System & Network Administrator (Powerpoint)
Scribd (Preview) | SktDrive (Download)

[ebook] การติดตั้ง Linux CentOS 4.4 File Server For HI

[ebook] การติดตั้ง Linux CentOS 4.4 File Server For HI

ไฟล์ : LinuxCentOS4.4_File_Server_For_HI.pdf
ขนาด : 2.32 KB
จำนวนหน้า : 29
Download [SkyDrive]

[ebook] การติดตั้ง Linux CentOS 4.4 File Server For HI

[ebook] CentOS 4.2 Installation Guide ภาษาไทย

[ebook] CentOS 4.2 Installation Guide ภาษาไทย

ไฟล์ : centos-4.2-installguide.pdf
ขนาด : 531 KB
Download [SkyDrive]
คุ่มือการติดตั้ง CentOS 4.2 จำนวน 11 หน้าครับ

[ebook] การติดตั้งและใช้งาน CentOS ลีนุกซ์เซิร์ฟเวอร์

[ebook] การติดตั้งและใช้งาน CentOS ลีนุกซ์เซิร์ฟเวอร์
ebook เนื้อหาแน่นๆ เรื่อง CentOS และ Linux Server ครับ
ขอขอนุญาตนำเนื้อหาทั้งหมดจากเว็บไซต์ มาลงครับ
ที่มา : http://linux.sothorn.org/node/558

ชื่อหนังสือ การติดตั้งและใช้งาน CentOS ลีนุกซ์เซิร์ฟเวอร์
เขียนโดย โสทร รอดคงที่
เนื้อหาในเล่ม

บทที่ 1 โครงสร้าง ฮาร์ดดิสก์และการเรียกชื่อฮาร์ดดิสก์
บทที่ 2 หลักการติดตั้งลีนุกซ์
บทที่ 3 ตัวอย่างการติดตั้ง CentOS

บทที่ 4 กระบวนการบูทของลีนุกซ์
บทที่ 5 การเปิดปิด Service
บทที่ 6 โครงสร้างของไดเรกทอรีของลีนุกซ์
บทที่ 7 การใช้งาน Vi
บทที่ 8 การใช้คำสั่ง RPM และ Yum จัดการแพ็กเก็จ
บทที่ 9 การบริหารจัดการบัญชีรายชื่อผู้ใช้ระบบ User / Group Accounts
บทที่ 10 Permission ของไฟล์ และ Directory
บทที่ 11 การใช้งาน System Config ต่าง ๆ
บทที่ 12การ mount ไฟล์ system อื่นๆ
บทที่ 13 การใช้โปรแกรมบีบอัดไฟล์เพื่อBackup ข้อมูล
บทที่ 14 คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเซิร์ฟเวอร์
บทที่ 15 การใช้งานcrontab ตั้งเวลาทำงาน
บทที่ 16 การเพิ่มพาร์ติชันหรือเพิ่มฮาร์ดดิสก์
บทที่ 17 การทำ Disk Quota
บทที่ 18 DNS (Domain Name System)
บทที่ 19 Apache เวบเซิร์ฟเวอร์ และ Virtual Host
บทที่ 20ติดตั้ง อัพเกรด และใช้งานMySQL
บทที่ 21 การติดตั้ง Apache+PHP
บทที่ 22 Postfix Mail Server
บทที่ 23 การควบคุมเซิร์ฟเวอร์ลีนุกซ์จากระยะไกลด้วย SSH และส่งไฟล์ ด้วย SFTP
บทที่ 24 NFS Server
บทที่ 25 รักษาความปลอดภัย Server ด้วย Arno's Script
บทที่ 26 แชร์ไฟล์ระหว่างลีนุกซ์และวินโดว์ด้วยSAMBA
บทที่ 27การใช้งาน linux rescue

อ่านซักนิดก่อนดาวน์โหลดนะครับ หนังสือเล่มนี้ผู้เขียน เขียนเพื่อใช้เป็นคู่มือในการอบรม และเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาลีนุกซ์ จึงนำมาแจกจ่ายเพื่อเป็นวิทยาทาน ผมยังยืนยันว่าหนังสือเล่มนี้สามารถดาวน์โหลดและแจกจ่ายได้ฟรี

แต่ ... หากผู้ใดมีความประสงค์จะช่วยเหลือหรือสนับสนุน การจัดทำเวบไซต์ http://linux.sothorn.org และการจัดทำหนังสือลีนุกซ์เล่มนี้ ก็ถือว่าเป็นน้ำใจ และกำลังใจที่จะช่วยในการพัฒนาเวบไซต์นี้ และสร้างสรรค์ผลงานคู่มือลีนุกซ์ออกมา
    สำหรับผู้ต้องการสนับสนุน
    กรุณาโอนเงินเข้าบัญชี นายโสทร รอดคงที่
    บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขานาโยง
    เลขที่บัญชี  937-0-05817-6

ถ้าหากท่านไม่มีกำลังสนับสนุน ก็สามารถแนะนำติชม หรือแจ้งคำผิดได้ที่ sothorn@gmail.com จักเป็นพระคุณยิ่ง

DOWNLOAD GIF[5]

**เพิ่มเติม Link Download จาก SkyDrive
Dowonload From My SkyDrive

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การตั้งค่าให้ unity launcher หยุด autohide สำหรับ unity 2D

การตั้งค่าให้ unity launcher หยุด autohide สำหรับ unity 2D

ใน ubuntu เวอรืชั้นใหม่สิ่งที่แถมเข้าด้วยคือระบบหน้าจอแบบใหม่ที่เรียกว่า unity สำหรับผมแล้ว มันก็ดูแปลกใหม่ดีครับ แต่ต้องใช้เวลาพักใหญ่กว่าผมจะทำใจกลับมาใช้ unity แทนของเดิมนั้นก็คือ gnome ที่มีมาอยู่แล้วกับ ubuntu เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้

ที่มา : marianochavero.wordpress.com

สำหรับเครื่องของผมที่ไม่มี vga card ก็เลยติดตั้ง unity 2d แทน unity ตัวเดิม ที่ช้ามากๆ ครับ รายละเอียดการติดตั้ง ที่นี่เลยครับ ubuntutraining.in.th

แต่พอผมกลับมาใช้ unity ก็เริ่มสังเกตว่ามีสิ่งน่ารำคาญคือ ตัวเมนู unity ที่อยู่ทางซ้าย มันผลุบๆโผล่ๆ ออกมา สำหรับผมแล้ว มันดูแปลกๆ ครับ เลยต้องมาหาวิธีปิดหรือ disable autohide

ขั้นแรกให้ไปดาวน์โหลดโปรแกรมก่อนครับ 32bit, 64bit เสร็จแล้วติดตั้ง

ไปที่เมนู ubuntu กดแล้วพิมพ์ unity

คลิ๊กที่โปรแกรม 2d-desktop setting

การตั้งค่าให้ unity launcher หยุด autohide สำหรับ unity 2D

ในส่วน launcher preference จะมีค่าเป็น auto-hide

ให้เราไปติ๊กค่าเป็น always show แทนครับ เสร้จแล้ว ปิดหน้าต่้างนี้ไปเลย

การตั้งค่าให้ unity launcher หยุด autohide สำหรับ unity 2D

หลังจากนี้ ตัว unity launcher ก้จะนิ่งอยุ่กับที่แล้วครับ

ตั้งค่าปุ่มเปลี่ยนภาษาใน Ubuntu ให้เป็นปุ่มตัวหนอน(grave) บน ubuntu 11.04

ตั้งค่าปุ่มเปลี่ยนภาษาใน Ubuntu ให้เป็นปุ่มตัวหนอน(grave) บน ubuntu 11.04

ปกติแล้วการเปลี่ยนภาษาใน linux จะใช้ปุ่ม Alt + Shift ครับ แต่ว่าผมเองก้ใช้งาน windows มานานจนชินกับปุ่มตัวหนอนซะแล้ว การทดลองใช้ ubuntu ครั้งนี้ เลยต้องหาวิธีตั้งค่ากันซะหน่อย

ที่มา : juuier.blogspot.com , ubuntutraining.in.th

วิธีนี้ทดสอบบน ubuntu 11.04 unity ครับ

ในค่าปกติของ ubuntu จะไม่มีปุ่ม grave หรือตัวหนอนให้เปลี่ยนนะครับ เราต้องเพิ่มปุ่มตัวนี้เอง วิธีการก็ง่ายมากครับ

ก่อนอื่นให้ดาวน์โหลดโปรแกรมนี้มาบนเครื่องก่อน

xkb-data-grave.deb

จากนั้นก็ดับเบิ้ลคลิ๊ก แล้วกด install package ได้เลย

ตั้งค่าปุ่มเปลี่ยนภาษาใน Ubuntu ให้เป็นปุ่มตัวหนอน(grave) บน ubuntu 11.04

เสร็จจากส่วนนี้เราก็มาตั้งค่าปุ่มกันต่อครับ

ไปที่ taskbar ด้านบนตรงส่วนภาษาครับ กดไป 1 ครั้ง เลือก keyboard preferences

ตั้งค่าปุ่มเปลี่ยนภาษาใน Ubuntu ให้เป็นปุ่มตัวหนอน(grave) บน ubuntu 11.04

หรือจะเข้าที่ ปุ่ม ubuntu แล้วพิมพ์คำว่า keyboard ลงไป จะเจอเป้นตัวแรกทันที

ตั้งค่าปุ่มเปลี่ยนภาษาใน Ubuntu ให้เป็นปุ่มตัวหนอน(grave) บน ubuntu 11.04

ต่อมาเลือกะแท๊บ layouts ทางด้านล่างจะมีปุ่ม options กดเลยครับ

ตั้งค่าปุ่มเปลี่ยนภาษาใน Ubuntu ให้เป็นปุ่มตัวหนอน(grave) บน ubuntu 11.04

เข้ามาจะเห็นเมนูตัวเข้มๆ ที่เขียนว่า Layout Switching พอกดเข้าไปจะเห็นรายชื่อปุ่มที่ใช้เปลี่ยนภาาาหลายตัว

แต่ให้สังเกตเฉพาะ “Grave Switch Layout” แล้วให้ติ๊กที่ตัวเลือกนี้

ส่วนของเดิมที่เป็น Alt+Shift Layout ให้ติ๊กออกครับ

กด close ก็เป็นอันจบ

ตั้งค่าปุ่มเปลี่ยนภาษาใน Ubuntu ให้เป็นปุ่มตัวหนอน(grave) บน ubuntu 11.04

อัพเกรด Firefox 5 บน Ubuntu ง่ายๆ ด้วย Update Manager

อัพเกรด Firefox 5 บน Ubuntu ง่ายๆ ด้วย Update Manager

หลังจากทดลองใช้ Firefox 5 บน Windows มาสักระยะ ก็นึกขึ้นได้ว่าใน Ubuntu ยังเป็น Firefox 4 อยู่เลยครับ

ทีแรกก็นึกว่าการ Upgrade Firefox ต้องใช้ คำสั่งใน Terminal ซะอีก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ครับ

วิธีการก็ง่ายๆ เลยครับ ไปที่เมนู System >> Administrator >> Update Manager

รอสักครู่ จะมีรายการให้อัพเดตครับ หนึ่งในนั้นก็เป็น Firefox 5 ด้วย

กด Update แล้วรอจนเสร็จก็เรียบร้อยครับ

Ubuntu Prompt Edition (UbuntuPE) แผ่น Ubuntu พร้อมใช้สำหรับผู้ใช้ Linux มือใหม่

Ubuntu Prompt Edition (UbuntuPE) แผ่น Ubuntu พร้อมใช้สำหรับผู้ใช้ Linux มือใหม่

สำหรับผู้ใช้มือใหม่ ที่คุ้นเคยกับ Windows มาก่อน คงจะรู้สึกสับสน งง กับการใช้ Linux แน่ๆ ผมเองก็เคยเป้นแบบนั้นมาก่อนตอนที่ลองเล่น Ubuntu แรกๆ

ปัญหาก็มาตั้งแต่การติดตั้ง ลงโปรแกรม ตั้งค่าระบบต่างๆ อีกมากมาย กว่าจะได้ใช้งานกันจริงๆ ก็นานเลยครับ แต่ทุกวันนี้ ความยากเย็นแบบนั้นไม่มีอีกแล้ว เพราะตอนนี้มี Ubuntu Prompt Edition ออกมาแล้ว

Ubuntu Prompt Editionคือ Ubuntu ที่มีการปรับแต่ง เพิ่มเติม โปรแกรม ฟ้อนท์ภาาาไทย และการตั้งค่าการใช้งานมาให้แล้วส่วนหนึ่งครับ ความหมายคือ หลังจากเราติดตั้ง Ubuntu ลงเครื่องเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ต้องไปโหลดโปรแกรมหรือตั้งค่าอะไรเพิ่มอีก หรือถ้าต้องการปรับแต่งระบบเอง ก็ทำได้ครับ

ผมว่าการใช้แผ่น Ubuntu PE แบบนี้ดีมากๆเลย ลงเสร้จก็แทบจะไม่ได้ต้องทำอะไร ถ้าเป้นมือใหม่ก็ลองใช้งานได้เลย

แผ่นแบบ Prompt Edition มีออกมา 2 รุ่นตาม Desktop ที่ใช้นะครับคือ
- Ubuntu 11.05 Prompt Edition สำหรับเครื่องทั่วไป เป้น Ubuntu แบบเดิมๆ
- Kubuntu 11.06 Prompt Edition ใช้ KDE เป้นระบบของหน้าจอ จะดูสวยกว่า Ubuntu ที่ใช้ GNOME หรือ UNITY แต่จะใช้ทรัพยากรของเครื่องเยอะกว่าปกติ เหมาะสำหรับเครื่องแรงๆครับ

ล่าสุดที่ผมใช้คือ Ubuntu 10 PE ที่ตอนนี้เอามาปรับแต่งเองจนคล่องแล้วครับ ส่วน Unity ผมเคยใช้แล้ว ไม่ถนัดเอาซะเลย ยากกว่าเปลี่ยนจาก XP มาใช้ Win7 ซะอีก เหอะๆ

แถมท้ายด้วยการเปรียบเทียบ Ubuntu และ Windows

Ubuntu ธรรมดาๆ           = Windows ธรรมดาๆ
Ubuntu Prompt Edition = Windows Dark Edition, Windows True Faster

Full Circle Magazine นิตยาสารออนไลน์ฟรีๆสำหรับผู้ใช้ Linux

Full Circle Magazine นิตยาสารออนไลน์ฟรีๆสำหรับผู้ใช้ Linux

http://fullcirclemagazine.org เว็บ Magazine ออนไลน์ที่สามารถดาวน์โหลดมาอ่านได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เนื้อหาหลักๆก็คือ พูดถึงข่าวสาร ความเคลื่อนไหว เทคนิคการใช้งานโปรแกรมต่างๆ บน Linux ตอนนี้ก็รองรับทั้ง Ubuntu, Xubuntu, Linux Mint และ linux ตัวอื่นๆ ด้วยครับ ใครที่คล่องภาาาอังกฤษก้ลองไปอ่านเพิ่มเติมความรู้กันได้ครับ มีอัพเดตกันเป็นประจำทุกๆเดือน

การติดตั้งโปรแกรมบน Ubuntu ด้วยคำสั่งใน Terminal

การติดตั้งโปรแกรมบน Ubuntu ด้วยคำสั่งใน Terminal

ในตอนก่อนๆ ผมได้แนะนำวิธีการติดตั้งโปรแกรมบน ubuntu ด้วย Ubuntu Software Center ไปแล้ว แต่ว่าวิธีนี้ใช้ได้กับโปรแกรมบางโปรแกรมบางส่วนเท่านั้น หากเราต้องการจะติดตั้งโปรแกรมอื่นๆ ที่หาไม่เจอหรือว่าเป็นโปรแกรมใหม่ ผมแนะนำวิธีนี้ครับ คำสั่งง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก

หลักการคือ เราจะเพิ่มตำแหน่งโปรแกรมคล้ายๆกับ URL ของเว้บเข้าไปในระบบ แล้วทำการอัพเดต จากนั้นเราก็ติดตั้งโปรแกรมนั้นๆได้เลย (คำศัพท์เฉพาะผมยังไม่ค่อยรู้ ต้องขอโทษด้วยนะครับ)

มาเริ่มกันเลย ผมจะยกตัวอย่างจากโปรแกรม Camera Monitor

เปิด Terminal ใช้คำสั่ง

sudo add-apt-repository ppa:______

คำสั่ง ppa เป้นตำแหน่งของด)แรกรมที่เราจะเพิ่มลงในระบบครับ ขึ้นอยู่กับโปรแกรมนั้นๆ
กด Enter แล้วป้อนรหัสของ user ลงไป
การติดตั้งโปรแกรมบน Ubuntu ด้วยคำสั่งใน Terminal

รอไม่นาน พอ Shell command พร้อม ก็พิมพ์คำสั่งนี้ต่อเพื่ออัพเดตแพคเก็จในระบบครับ

sudo apt-get update

เสร้จจากคำสั่งนี้ ก็ต้องรอกันนานหน่อยครับ

การติดตั้งโปรแกรมบน Ubuntu ด้วยคำสั่งใน Terminal

และคำสั่งสุดท้ายคือ คำสั่งที่ใช้ติดตั้งโปรแกรม

sudo apt-get install ชื่อโปรแกรม

ในตัวอย่างนี้ก็คือ cameramonitor ถ้าพิมพ์ชื่อโปรแกรมไม่ถูกก็ให้กด ตัวอักษรสัก 2-3 ตัวแล้วกด Tab ดูครับ

การติดตั้งโปรแกรมบน Ubuntu ด้วยคำสั่งใน Terminal

แล้วก็รอครับ จนกว่าจะกลับมาที่ Shell Command เหมือนเดิม

การติดตั้งโปรแกรมบน Ubuntu ด้วยคำสั่งใน Terminal

จบแล้วครับ การติดตั้งโปรแกรมผ่าน Terminal

เพื่อความชัวร์ ลองเปิดโปรแกรมจากเมนูดูครับ

Camera Monitor โปรแกรมแสดงสถานะการใช้งานกล้อง Webcam บน Ubuntu System Tray

Camera Monitor โปรแกรมแสดงสถานะการใช้งานกล้อง Webcam บน Ubuntu System Tray

Camera Monitor เป็นโปรแกรมที่ใช้แสดงสถานะการใช้งานกล้อง Webcam ครับ เป็นโปรแกรมเล็กๆ ที่จะแสถงสถานะว่ากล้อง Webcam ของเครื่องกำลังทำงานอยู่หรือเปล่า

การติดตั้ง Camera Monitor

เปิด Terminal แล้วพิมพ์คำสั่งตามนี้ครับ พิมพ์ทีละบรรทัดแล้วกด Enter

sudo add-apt-repository ppa:phobosk/phobosk-ppa

sudo apt-get update

sudo apt-get install cameramonitor

Camera Monitor โปรแกรมแสดงสถานะการใช้งานกล้อง Webcam บน Ubuntu System Tray

หลังจากติดตั้งเสร็จเลย ไปที่หมดวหมู่โปรแกรม Sound & Video >> Camera Monitor
ถ้ากล้องยังไม่ใช้งาน โปรแกรมก้จะแจ้งออกมาแบบในรูปครับ
Camera Monitor โปรแกรมแสดงสถานะการใช้งานกล้อง Webcam บน Ubuntu System Tray

ที่มา : ubuntugeek

เปรียบเทียบความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Windows XP และ Ubuntu

โพสนี้ ผมจะลองเปรียบเทียบหน้าตาการใช้งานทั่วไปของ Windows  และ Ubuntu ว่าจะมีช้อเหมือนหรือแตกต่างแค่ไหนกัน โดยผมจะเน้นไปที่การใช้งานแบบ User ทั่วๆไปนะครับ

ก่อนอื่นก็ต้องแนะนำ OS ที่จะเปรียบเทียบกันสักหน่อย
- Windows XP SP3 ปรับแต่ง Icon

เปรียบเทียบความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Windows XP และ Ubuntu

- Ubuntu 11.04 แบบใช้ Gnome และเปลี่ยน Theme ใหม่

เปรียบเทียบความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Windows XP และ Ubuntu
การเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆ
มีปุ่มคล้ายๆกัน เป็นที่รวมโปรแกรมและเมนูต่างๆ

Windows
เปรียบเทียบความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Windows XP และ Ubuntu

Ubuntu
เปรียบเทียบความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Windows XP และ Ubuntu

My Document หรือ Folder ที่เก็บข้อมูลของแต่ละ User
.มี Folder ที่ใช้เก็บไฟล์ของ User แต่ละคนแยกออกจากกัน

Windows
เปรียบเทียบความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Windows XP และ Ubuntu

Ubuntu
เปรียบเทียบความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Windows XP และ Ubuntu

ส่วนจัดการระบบหรือ Coltrol Panel
มีเหมือนกัน แต่ใน Linux จะเป็นเมนูแยกออกมา มี 2 ส่วนคือ Preference ที่ใช้หรับแต่งหน้าจอ
และ Administration ใช้ในการปรับแต่งระบบ

Windows
เปรียบเทียบความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Windows XP และ Ubuntu
Ubuntu
เปรียบเทียบความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Windows XP และ Ubuntu

การติดตั้งโปรแกรมเพิ่มในเครื่อง
ใน Windows  มีไฟล์ .exe ส่วนใน Linux มีไฟล์ .deb ครับ ดับเบิ้ลคลิ๊กลงได้ แต่ไม่ค่อยนิยมเท่ากับการติดตั้งผ่านคำสั่ง Command ใน Terminal (เหมือน Command Prompt ใน WIndows)

Windows
image
เปรียบเทียบความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Windows XP และ Ubuntu
Linux
image
เปรียบเทียบความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Windows XP และ Ubuntu

มี Software Center รวมรายการโปรแกรม
ให้เลือกติดตั้งได้ทันที
เปรียบเทียบความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Windows XP และ Ubuntu


หรือจะติดตั้งโปรแกรมผ่านทาง Terminal ก็ได้
(พิมพ์คำสั่ง)

เปรียบเทียบความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Windows XP และ Ubuntu

คร่าวกันไปก่อนครับ ในโพสต่อๆไป จะแนะนำโปรแกรมที่ใช้งานใน Ubuntu

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Linux คืออะไร และผมรู้จัก ubuntu ได้ยังไง

ก่อนจะพูดถึงเรื่องอื่นๆ ของ Linux ผมเองก้ขอพูดถึงที่มาที่ไป ว่าผมไปรู้จัก Linux และ Ubuntu ได้ยังไงกัน

จริงๆแล้วผใก็ได้ยินเรื่องคร่าวๆ ของ Linux มาตั้งแต่ตอนเรียน ปวช แล้ว แต่ด้วยข้อมุลที่น้อยในตอนนั้นผมก็เลยไม่ได้สนใจ จนมาถึง ปตรี ก็มีการเรียนการสอนบ้าง และมีเพื่อนชวนให้ลองเล่น Ubuntu ผมก็เลยลองไปด้วย เวอรืชั่นแรกที่ผมลองคือ Ubuntu 7 มีปัญหาเยอะแยะ ตั้งแต่การติดตั้ง ทำไดรฟ์ผมหายบ้าง ลงแล้วไม่มีไดรเวอร์บ้าง จนมาที่เวอร์ชั่น 8.04 ก็เริ่มดีขึ้นครับ ลงง่าย ไดรเวอร์ก็มีครบ และผมเองก็ลงบ้างลบบ้าง ตามแต่โอกาสและพื้นที่ในเครื่องจะมี จนในปัจจุบันผมติดตั้ง Ubuntu 11.04 ในเครื่องโน๊ตบุ๊คที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันนี้

Linux ในความหมายง่ายๆ ก็คือ ระบบปฏิบัติการหรือ OS ถ้าไปพูดกับคนอื่นๆ ก็งงกันได้ เอาเป้นว่ามันก็คล้ายๆ กับ Windows นั่นแหละ ต่างกันที่ยี่ห้อ เหมือนรถยนต์ยี่ห้อ toyota BenZ Ford ที่เป็นรถยนต์เหมือนกัน ต่างกันที่ยี่ห้อ

หลักๆแล้วระบบ OS ที่ผมพอจะรู้จักก้มีอยู่ สามตัวคือ
- Windows อันนี้ใช้กันประจำอยู่แล้ว ของจริงบ้าง ของปลอมบ้าง ก็ว่ากันไป ใช้กันมาตั้งแต่ WIn95 98 XP Win7 ผู้สร้างคือ Microsoft
- MacOSX ตัวนี้เป้นของบริษัท Appleที่ทำ iPhone iPad iPod คิดว่าคงคุ้นๆหูกันบ้าง เป็นระบบเฉพาะที่ติดตั้งกับเครื่องทั่วไปไม่ได้ ผมเคยใช้งานมานิดๆหน่อย ก็ต้องบอกได้เลยว่า งงอยู่พอสมควร เพราะว่าคุ้นกับ Windows มาก่อน
- Linux ตัวนี้ฟรี พัฒนาต่อมาจาก Unix อีกที ความสามารถก็ไม่ได้น้อยหน้า Windows และ Mac เลย อาจจะใกล้เคียงกัน แต่มีข้อดีคือ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย จะเอาไปแจกจ่ายยังไงก็ได้ และเพราะแบบนี้ ปัจจุบันก็เลยมี Linux หลากหลายรุ่น เช่น
LinuxMint, Fedora, PClinuxOS , Ubuntu

มาว่ากันที่ Ubuntu ต่อ ในชื่ออูบุนตู ก็ยังมีชื่อที่คล้ายกันๆอีกหลายตัว แตกต่างกันที่การใช้งาน แต่ตัวระบบคล้ายๆกัน เช่น
- Kubuntu ใช้ระบบจัดการหน้าจอ เป้นแบบ KDE ส่วน Ubuntu ใช้ Gnome และ Unity เท่าที่ลองมา Kubuntu หน้าตาจะสวยมาก แต่กินสเปคเครื่องเยอะ เหมาะกับเครื่องคอมใหม่ๆ
- Lubuntu เหมาะกับเครื่องเก่าๆ สเปคต่ำๆ
- Edubuntu เหมือนUbuntu แต่มีโปรแกรมสำหรับการเรียนการสอนเยอะมาก

เอาเป้นว่าหลักๆ ผมจะใช้ Ubuntu เพราะเป้นตัวกลางๆ ไม่กินสเปคมาก ไม่เน้นไปงานไปด้านใดด้านหนึ่ง คล้ายๆกับ การลง Windows ที่พอลงเสร้จเราก็ค่อยลง Program เพิ่มความสามารถกันเอาเอง แต่โปรแกรมใน Ubuntu ส่วนมากจะฟรีครับ

เพิ่มเติมอีกนิดหน่อยครับ ในบ้านเราก็มีคนเอา Ubuntu มาดัดแปลง ปรับแต่งให้ใช้งานกับภาษาไทยได้ง่ายๆ แบบว่า ลงครั้งเดียว ได้ทั้งภาษาไทย ฟ้อนท์ โปรแกรม ไดรเวอร์ครับเลย ที่เคยใช้มาก็มี
- Ubuntu PE หรือ Ubuntu Prompt Edition สร้างโดยสมาชิก Ubuntuclub มีการอัพเดตต่อเนื่องตลอด โปรแกรมที่ลงให้ก็ครบ
- Suriyan หรือ สุริยัน เป็นโครงการของทางหน่วยงานรัฐ เน้น การใช้งานง่ายๆ มีการปรับแต่งหน้าตาให้คล้าย Windows มากที่สุด
- ThaiOS ผมว่าคล้ายๆ ตัว Suriayan มาก เคยคิดว่าเป้นตัวเดียวกันซะอีก ทุกอย่างเหมือนกันหมด

สำหรับใครที่อยากเริ่มต้นจากพื้นฐานก็ควรลอง Ubuntu แบบธรรมดาครับ ส่วนใครใจร้อนอยากใช้แบบครบสูตรมีลงให้หมด แนะนำให้ลองจากตัว Ubuntu PE ครับ